วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ห่วงโซ่อุปทานซัพพลายเชน คือ อะไร...?


“Supply Chain เป็นกิจกรรมที่มีการปะทะสัมพันธ์หรือ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างการจัดซื้อกับการตลาดในลักษณะที่เป็นบูรณาการ การค้าในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน ทั้ง Logistics และ Supply Chain ต่างก็จะมีภาระหน้าที่ (Function) แตกต่างกันในอาณาบริเวณของตลาด โดยต่างก็เป็นกิจกรรม ที่ส่งเสริมการตลาด และการผลิตโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน”
คำนิยามของ Supply Chain โดย Robert B. Handfield & Ernest L. Nichols, Jr.
“Supply Chain Management (SCM) is the integration and management of supply chain organizations and activities through cooperative organizational relationships,effective business processes , and high levels of information sharing to create high-performing value systems that provide menber organizations a sustainable competitive advantage.”
จากคำนิยามข้างต้น อาจให้ความหมายของ Supply Chain Management ว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบูรณาการ (Integration) และการจัดการในองค์กรที่ได้มีการนำห่วงโซ่อุปทานและยังรวมถึงกิจกรรมต่างๆ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมความสัมพันธ์และความร่วมมือ ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการทางธุรกรรมในอันที่จะสร้างเสริมให้มีมูลค่าเพิ่มในสินค้าแะบริการอันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ในทัศนะของผู้เขียนให้คำจำกัดความที่น่าจะเหมาะสมและกระทัดรัดที่สุดเกี่ยวกับ Supply Chain Management ในความหมายที่ว่า ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปทานของสินค้าและบริการ โดยการปฏิสัมพันธ์จะมีลักษณะเชิงบูรณาการ โดยมีเป้าหมายในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม และสนองตอบต่อความต้องการของตลาด , การผลิต , การกระจายและการส่งมอบสินค้าและรวมถึงการสื่อสารสนเทศของข้อมูลและข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดต้นทุนรวมของธุรกิจและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน จะเห็นได้ว่าการจัดการซัพพลายเชนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งของวัตถุดิบต้นน้ำ (Up stream Source) จนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการปลายน้ำ (Down stream Customers) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะครอบคลุมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดและการผลิต รวมถึงกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าจนถึงมือผู้ต้องการสินค้า ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆ จะมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะของบูรณาการ โดยมุ่งที่จะลดต้นทุนรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ อันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า ทั้งนี้ ภาระกิจสำคัญของ Supply Chain จะมุ่งให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุด โดยเน้นในเรื่องประสิทธิผลเชิงต้นทุน และผลตอบแทนทางธุรกิจก็คือ Profit Gain Satisfaction
Supply Chain เป็นเรื่องของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการวางแผนการผลิต และกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะ Marketing Mixed (ส่วนผสมการตลาด) ซึ่งจะเห็นว่า Supply Chain จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Product Concept (แนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์) , Product Design , Raw Material Supply (การจัดหาวัตถุดิบ) , Production Process (ขบวนการเกี่ยวกับการผลิต) , Transport , Warehouse และ Distributor (การกระจายสินค้า) เพื่อจัดจำหน่ายต่อไปยังผู้ค้าส่งและร้านค้าปลีก จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย (End Consumers) กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า “ห่วงโซ่ของการสร้างมูลค่า” หรือ “VALUE CHAIN” มีนักวิชาการโลจิสติกส์บางท่าน กล่าวถึง Logistics และ Supply Chain ต่างเป็นกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes Moving) โดยกล่าวว่า Logistics จะเป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะภายในองค์กร และ Supply Chain เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างองค์กร ซึ่งผู้เขียนก็จะมีความเห็นที่ต่างออกไป คือ “Logistics เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย (Moving) สินค้าและบริการ ทั้งในองค์กรและระหว่างองค์กร” ส่วน Supply Chain จะเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับองค์กร ทั้งที่เป็นส่วนอุปสงค์ (Demand) และส่วนของอุปทาน (Supply Side) ในลักษณะที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุน การเคลื่อนย้าย (Moving) ในความหมายนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะกิจกรรมขนส่งที่เป็น Transport เท่านั้น แต่รวมถึงกระบวนการในการส่งต่อที่มีผลทางกายภาพให้วัตถุดิบ-สินค้า-บริการ มีการเคลื่อนย้ายจาก Origin Sources ไป End Sources ส่วนคำว่า Chain นั้นผู้เขียนเจตนาที่จะใช้คำว่าห่วงโซ่ ไม่ใช้คำว่า “โซ่” เหมือนในบางตำรา เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า Supply Chain เป็นเรื่องของบูรณาการ Chain ในความหมายที่เป็น ห่วงโซ่ จะให้เห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าเป็นห่วงของแต่ละโซ่ที่สอดคล้องร้อยรัดแต่ละกระบวนการที่เกี่ยวข้องใน Supply Chain เข้าด้วยกันในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นวงแหวน
ความหมายของซัพพลายเชนแบบปฏิสัมพันธ์เชิงวงแหวน (Annular Reaction) ปฏิสัมพันธ์ หรือ Reaction เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสนองตอบหรือการตอบโต้ระหว่างบุคคลหรือหน่วยงาน ซึ่งจะมีผลทั้งในทางบวกและทางลบ สำหรับวงแหวนผู้เขียนเจตนาใช้คำว่า Annular ซึ่งแปลว่า “วงแหวนล้อมรอบ” โดยไม่ใช้ “Circle” ซึ่งเน้นความเป็นวงกลมซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อ Supply Chain จะเกี่ยวข้องในการสนับสนุนการผลิตและการจำหน่ายสินค้าและบริการ รวมถึง การเชื่อมต่อและประสานสัมพันธ์ของรอยต่อของกิจกรรมต่างๆในกระบวนการดังกล่าว โดยมีภาระกิจสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน จะอยู่ที่การจัดการเคลื่อนย้าย (Moving) สินค้าและบริการ รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ภายใต้ตัวชี้วัดและข้อจำกัดของเงื่อนเวลาที่เป็นแบบทันเวลา (Just In Time & Real Time) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการสร้างความพอใจให้กับลูกค้าแบบยั่งยืน (Customer Satisfaction) โดยกระบวนการของ Supply Chain จะประกอบไปด้วย กระบวนการจัดหา , การผลิต , การตลาด , การกระจายสินค้า , การขนส่งและการเคลื่อนย้าย (Movement) , การจัดเก็บ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการจัดการเชิงระบบ (Systems) ให้แต่ละกระบวนมีการสอดประสานมีปฏิสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างความพอใจให้ลูกค้าและลดต้นทุนรวมเพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยพันธะกิจของ Supply Chain จะครอบคลุมเกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารข้อมูล เป็นปัจจัยสนับสนุนที่ช่วยทำให้การดำเนินงานต่างๆดังกล่าว สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี ประสิทธิผล โดย Supply Chain จะเริ่มต้นจากแหล่งของวัตถุดิบไปสู่ผู้ผลิตและกระบวนการขนส่งไปสิ้นสุดปลายทางที่ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายที่เรียกว่า Consumers คือเป็นกิจกรรมที่มีการปะทะสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดซื้อกับการตลาดในลักษณะที่เป็นบูรณาการ ซึ่งจากนิยามในมุมมองของผู้เขียนนั้น กิจกรรมของ Logistics ก็จะเป็นกระบวนการหนึ่งในกิจกรรมของ Supply Chain แต่ Logistics จะเน้นพันธกิจในฐานะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการในแต่ละช่วงต่อของกระบวนการ Supply Chain ซึ่งทำให้รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกลายเป็นลักษณะของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งก็คือ Supply Chain นั่นเอง อย่างไรก็ดี กิจกรรมของ Logistics ไม่ใช่มีแต่เฉพาะการเคลื่อนย้ายสินค้า แต่ยังประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆอีกมากมาย ทั้งนี้การเคลื่อนย้าย (Moving) ก็ไม่ใช่ หมายความเฉพาะการเคลื่อนย้ายสินค้าในลักษณะของการขนส่ง (Transportation) แต่หมายถึงกิจกรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ทำให้สินค้าและบริการ มีการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังหรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบเข้าไปในกระบวนการผลิต

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

CRM Concept & Customer Life Time Value

CRM หมายถึงอะไร ในศัพท์ต่างๆ ที่มักจะพูดกันถึงเสมอๆ อาจจะทำให้เข้าใจไขว้เขว ศัพท์เหล่านี้คือความหมายเดียวกันของ CRM ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Relationship Marketing หรือการตลาดสายสัมพันธ์ จะเรียกว่าเป็น One-to-One Marketing จะเรียกว่า CRM จาก RM ทั้งหลายจะกระจายไปอีกเยอะมากเป็น ERM, PRM แล้วก็ CRM แล้วก็ CCRM Concept เดียวกันทั้งนั้นเรื่องของเทคโนโลยี Enable Marketing เรื่องของ Real Time Marketing Customer Intimate ขอให้เข้าใจว่าไม่ว่าจะเจอศัพท์เหล่านี้ที่ไหนเป็นเรื่องเดียวกันเพราะว่าคนที่เขียนหนังสือเขียนออกมาเล่มนึงก็พยายามจะทําให้ไม่เหมือนกับคนอื่นเพราะฉะนั้นก็จะตั้งชื่อต่างๆ นานา CRM หมายความว่าอะไรบ้างหลังจากเรียนรู้ CRM ต่างๆ เหล่านี้ไปแล้วจะมี Keyword อยู่ 2, 3 ตัวเวลาที่เราพูดกันถึง CRM คือวิธีการใดๆ ก็ตามที่พยายามจะดึงเอา Customer Value ออกมาเรื่องของ Life Time Customer Value หรือคุณค่าแห่งลูกค้าในระยะยาว บางคนอาจแปลว่าคือคุณค่าตลอดชีวิต Life Time แต่ไม่มีใครอยู่ชั่วชีวิต เพราะฉะนั้นเอาแค่ระยะยาวก็พอ มีวิธีการอะไรบ้างที่สามารถเรียนรู้ลูกค้าของท่านในระยะยาวๆ บอกตัวเองให้ได้ว่าลูกค้าจะนำมาซึ่งกําไรในระยะยาวแค่ไหน แล้วคิดเครื่องมือทางการตลาดลงไปให้จูงใจเหมาะสม สอดคล้องกับการที่จะทำให้ลูกค้าอยู่ยาวๆ อาจจะแปลว่าคือการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูนความสัมพันธ์เฉพาะตัว Keyword อยู่ที่คําว่า “เฉพาะตัว” กับลูกค้า “เฉพาะคน” หรือ “เฉพาะกลุ่ม” เพื่อสร้างมูลค่าลูกค้าระยะยาว Customer Life Time Value สูงสุด CRM ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลยในโลกนี้ หลายคนกําลังจับกําลังทําอยู่ โดยที่ไม่ได้เรียกว่า CRM เพราะงั้นไม่ต้องแปลกใจว่าจะตกกระแส ไม่ตกกระแส ยกตัวอย่าง โรงแรม Oriental ทำไมโรงแรม Oriental กลายเป็นโรงแรมดี Oriental เป็น โรงแรมเล็กมากเก่าแก่แต่ทำไมราคาห้องแพงขนาดนั้น เพราะอะไร ทำไมคนอยากจะอยู่ Oriental ทําไมบริการดีนัก เขาทําเรื่องนี้มาเป็น 10 ปี โดยไม่บอกว่ากําลังทํา CRM เพราะฉะนั้นเหลียวกลับไปมองในอดีตกาลนั้นท่านกําลังทำ CRM อยู่ในบาง Scale ครับ บอกให้ดีใจเพราะว่า Oriental ทําไมมีบริการดี Orientalเป็นโรงแรมที่มีจำนวนของพนักงานต่อห้องสูงที่สุดในประเทศไทยห้องเขามีไม่เยอะหรอก Oriental เอาจำนวนพนักงานตั้งหารด้วยจํานวนห้อง พนักงานต่อห้องสูงสุดมา Check in ที่โรงแรม Oriental ถูกประกบจากพนักงานกี่คนครับCheck in เสร็จมีคนถือกุญแจคนนึงนำไป มีคนถือกระเปีาเดินตาม มีคนประกบ 3, 4 คนต่อ 1 ลูกค้าบริการจะไม่ดีได้ยังไง แล้วเขาทำอะไรบ้างห้องพักของโรงแรมเข้าไปมีกระจาดผลไม้ เคยไปพักโรงแรมเห็นแม่บ้านขึ้นไปทำความสะอาดห้อง เก็บกระเช้าผลไม้ลงไปที่ข้างล่าง ไม่ได้เอาไปล้าง เอาไปเข้าห้องวิเคราะห์ลูกค้าดูว่าลูกค้ากินอะไรหรือไม่กินอะไร ถ้า Mr. Smith มาใหม่ ทั้งกระจาดมีแต่กล้วย เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นเสมอ นี่คือการเรียนรู้ลูกค้าตลอดเวลา Mr. John มาถึงคราวนี้ขอหมอนเป็นคนนอนหมอนสูง ขอหมอนเพิ่มอีก 2 ใบ แปลว่าคราวหน้าจะมีหมอน 8 ใบอัดอยู่ในตู้ เสื้อผ้า และใน Organization อย่างคนไทยทั้งหลายทำเรื่องแบบนี้ เรื่อง CRM ฝรั่งมาทีหลังเราอีก อย่าไปตื่น ตระหนกว่าอะไร CRM มาแล้ว ลงทุนกันใหญ่
ทุกวันนี้ธนาคารทุกแห่งในประเทศไทยกําลังจัดซื้อ Software CRM เรา กําลังตื่นเต้นกับเรื่องแบบนี้ แต่ระมัดระวังนะครับ จริงๆ แล้วท่านทำมันอยู่ เพียงแต่ว่าต้องต่อยอดออกไปให้ดี แต่ถ้ามีสตางค์ไม่เกี่ยงหรอกครับ ทำเลย อะไรที่ทำให้ CRM กลายเป็น Hot Hit ทุกวันนี้ ย้อนกลับไปทศวรรษ 80 เรื่องแบบนี้ ในอเมริกาก็พูดกันในเรื่องของ Customer Retention พูดถึงเรื่องแบบนี้และพอนานๆ ไปเทคโนโลยีมาคนก็เลยหยิบเอา เรื่องของเทคโนโลยีไปบวกกับเรื่องของ Customer Retention แล้วก็เขียนใหม่ว่า CRM แค่นั้นเองไม่ได้มีอะไรประหลาด ลึกลํ้า CRM ในแง่ความคิดอยู่ตรงที่ว่า สมัยก่อนเรียนเรื่องการตลาดก็จะบอกเสมอว่าการตลาดเป้าหมายคืออะไรครับ เพื่อขายสินค้า เพื่อกําไร กําไรนั้นมาจากไหน การตลาดทำไปทำไม เป้าหมายของการตลาดคืออะไร ขายสินค้าได้ สร้าง ผลกําไรบนความพึงพอใจ เราพูดเรื่องความพึงพอใจตลอดเวลาเลยเห็นไหม Customer satisfaction แล้วรู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น เดินไปถามลูกค้า 100 คนที่พอใจบริษัทเรา ถามเขาว่าเขาพอใจหรือเปล่า คำตอบคือพอใจ แล้วเราถามเขาว่าถ้ามี Offer ใหม่ๆ คุณจะไปไหม คำตอบคือไปครับ 25% บอกว่าไป งานวิจัยในอเมริกาบอกชัดเจนว่า 20-25% ของลูกค้าที่ Happy กับคุณพร้อมจะไปทันทีที่ลูกค้ามี Offer ดีกว่าที่คู่แข่งมี Offer ดีกว่า เพราะฉะนั้น การตลาดอย่างเดิมไม่พออีกต่อไปแค่รักษาความพึงพอใจไม่พอทำอย่างไรถึงจะคัดความพอใจอย่างนั้นให้ยืดยาวไปในอนาคต นั่นคือประเด็นแรก ประเด็นสองก็คือว่าสามารถลากยาวความพึงพอใจหรือความสัมพันธ์นี้ไปยาวนานเท่าไหร่กําไรก็จะเพิ่มขึ้น

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Data Warehouse & Data Mining

Data Warehouse เป็นลักษณะของการแยกฐานข้อมูลที่ต้องการใช้งานในลักษณะระบบ
ช่วยเหลือการตัดสินใจออกจากฐานข้อมูลที่ใช้งานประจำวัน ทั้งนี้ Data Warehouse อาจได้จาก
ฐานข้อมูลประจำวันหรือแหล่งข้อมูลภายนอก แต่ถูกกำหนดให้เป็นฐานข้อมูลใหม่ ในลักษณะของ
ฐานข้อมูลสารสนเทศ เพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ทั้งนี้รูปแบบการ
จัดเก็บข้อมูลใน Data Warehouse จะเก็บในลักษณะตาราง หรือตารางหลายมิต




Data Warehouse หรือ Data Webhouse หรือเรียกสั้นๆ ว่า webhouse เป็นผลสะท้อน
จากการใช้เว็บและจากโครงสร้างของ Data Warehouse เอง เนื่องจากในเว็บจะนำเสนอ
แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของลูกค้า ทั้งนี้ในการออกแบบเว็บ
จะคำนึงถึงพฤติกรรมของลูกค้าเป็นสำคัญ และยังมีความต้องการที่จะสร้างพื้นที่หรือห้องเพื่อใช้ใน
การเข้าถึงหรือติดต่อกันสำหรับเว็บไซต์ระหว่างพนักงาน และลูกค้า ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก
การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าจะนำไปสู่ Data mining ซึ่งจะช่วยนำเสนอการวิเคราะห์ที่
ซับซ้อน เพื่อค้นหารูปแบบสำหรับข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า อาทิ เช่น
􀂃 ทำนายถึงลักษณะของลูกค้าแต่ละรายว่าจะเป็นลูกค้าชั้นดีหรือไม่
􀂃 แสดงให้เห็นถึงความสนใจในผลิตภัณฑ์ของลูกค้า
􀂃 ปรับปรุงเว็บไซต์ โดยจะพิจารณาจากข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า
􀂃 web page แบบใดที่น่าสนใจสำหรับผู้เยี่ยมชม
Data warehouse และ Data mining มีอยู่รวมกันอยู่หลายรูปแบบ โดยที่ Data mining
จะใช้ Data Warehouse เป็นแหล่งข้อมูลโดยตรงในการวิเคราะห์ข้อมูล และบางครั้ง webhouse
มีการจัดเก็บข้อมูลงานประจำวันและข้อมูลพฤติกรรมในลักษณะหลายมิติ
ทีมผู้จัดทำ webhouse ได้กำหนด webhouse ให้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน การ
วิเคราะห์ การประมาณการ การให้คะแนน โดยใช้ข้อมูลจากภายในและภายนอก ตลอดจนทำการ
แปลงข้อมูลตามกฎเกณฑ์ทางธุรกิจ โดยที่ webhouse จะทำหน้าที่รวบรวม, จัดเก็บ และนำเสนอ
ข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม ส่วน Data mining นั้นถูกนำมาใช้ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
มากกว่าที่จะถูกใช้เป็นฐานข้อมูล โดยต้องการใช้ข้อมูลของ webhouse มาทำการวิเคราะห์เป็น
ส่วนใหญ่


ที่มา:tulip.bu.ac.th/~panida.t/DataWebhouse.pdf

ระบบจัดการชนิดสินค้า ช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกเข้าใจพฤติกรรม การใช้จ่ายของลูกค้ามาก ชึ้นและทราบว่าลูกค้ามีปฎิกริยากับโปรโมรชั่นของตนอย่างไร

  • ระบบวิเคราะห์การ 'Claim' หรือการอ้างสิทธิของธุรกิจสุขภาพ ช่วยให้บริษัทควบคุมค่าใช้จ่าย ลูกค้าได้ดีขึ้น
  • ระบบควบคุมการทุจริตและควบคุมค่าใช้จ่ายของธุรกิจประกันสุขภาพ
  • ระบบ Supplier Management หรือระบบจัดการ Supplier ช่วยให้องค์กรเหล่านั้นสามารถประเมินคาดการณ์ และวางแผนสำหรับอนาคตได้ดีกว่า
  • ระบบการเงินซึ่งมีองค์กรทั้งหลายนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทำให้องค์กรเหล่านี้ สามารถประเมินคาดการณ์ และวางแผนสำหรับอนาคตได้ดีกว่า
  • ระบบจัดการค่าใช้บริการ ซึ่งบริษัทโทรคมนาคมนำไปใช้ ทำให้บริษัทเหล่านั้นสามารถ กำหนดอัตราค่าบริการ ที่ทำกำไรได้สูงสุด ในขณะเดียวกันก็เป็นอัตราที่จูงใจลูกค้ามากที่สุดด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โทรศัพท์ ทางไกลหรือโทรศัพท์บ้านก็ตาม
  • ระบบประวัติลูกค้า ระบบทำนายความต้องการและระบบการตลาดขนาดจุลภาค ที่มีใช้ในบริษัทบริการสื่อสาร
  • ระบบจัดเก็บค่าบริการ ระบบจัดการเครดิต และระบบการตลาดขนาดจุลภาคที่มีใช้ในสถาบันการเงิน
  • ระบบจัดการทรัพย์สินที่ปรับปรุงใหม่และระบบควบคุมค่าใช้จ่าย ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ

หนึ่งในระบบ Data Warehouse ที่ประสบความสำเร็จมากเป็นระบบที่นำมาประยุกต์ใช้กับ ธุรกิจค้าปลีก เพราะระบบ Data Warehouse ทำให้เจ้าของสามารถสร้างระบบรายงานที่ดึง เฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ออกมาจากเครื่องเก็บเงินได้ (Point-of-Sales) และนำข้อมูลนั้นมาสร้าง และทดสอบโปรโมชั่นต่าง ๆ ช่วยในการดูพฤติกรรมการซื้อ (เช่น ของบางอย่างลูกค้ามักจะซื้อคู่กัน เช่น เสื้อเชิ้ตกับเนคไทหรือรองเท้ากับกระเป๋าถือ ) หรือสร้างบริการและ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ


DATA MINING คืออะไร

Data Mining คือ ชุด software วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ มันเป็น software ที่สมบรูณ์ทั้งเรื่องการค้นหา การทำรายงาน และโปรแกรมในการจัดการ ซึ่งเราคุ้นเคยดีกับคำว่า Executive Information System ( EIS ) หรือระบบข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหาร ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) คือทำอย่างไรให้ข้อมูลที่เรามีอยู่กลายเป็นความรู้อันมีค่าได้สร้างคำตอบของอนาคตได้

ทำไมจึงต้องมี Data Mining

1.ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลหากเก็บไว้เฉย ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ดังนั้นจึงต้องมีการสกัดสารสนเทศไปใช้
การสกัดสารสนเทศ หมายถึง การคัดเลือกข้อมูลออกมาใช้งานในส่วนที่เราต้องการ
2.ในอดีตเราใช้คนเป็นผู้สืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูลซึ่งผู้สืบค้นจะทำการสร้างเงื่อนไขขึ้นมาตามภูมิปัญญาของผู้สืบค้น
3.ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวอาจไม่ให้ความรู้เพียงพอและลึกซึ้งสำหรับการดำเนินงานภายใต้ภาวะที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจึงจำเป็นที่จะต้องรวบรวมฐานข้อมูลหลาย ๆ ฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ คลังข้อมูล” ( Data Warehouse)
ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้ Data Mining ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั่นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด


ปัจจัยที่ทำให้ Data Mining เป็นที่ได้รับความนิยม

· จำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ถูกผลิตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว การสืบค้นความรู้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อฐานข้อมูลที่ใช้มีขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันมีจำนวนและขนาดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยผ่านทาง Internet ดาวเทียม และแหล่งผลิตข้อมูล อื่น ๆ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด , เครดิตการ์ด , อีคอมเมิร์ซ
· ข้อมูลถูกจัดเก็บเพื่อนำไปสร้างระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System) เพื่อเป็นการง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ ส่วนมากข้อมูลจะถูกจัดเก็บแยกมาจากระบบปฏิบัติการ ( Operational System ) โดยจัดอยู่ในรูปของคลังหรือเหมืองข้อมูล ( Data Warehouse ) ซึ่งเป็นการง่ายต่อการนำเอาไปใช้ในการสืบค้นความรู้
· ระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง เทคนิค Data Mining ประกอบไปด้วย Algorithm ที่มีความซับซ้อนและความต้องการการคำนวณสูง จึงจำเป็นต้องใช้งานกับระบบ computer สมรรถนะสูง ปัจจุบันระบบ computer สมรรถนะสูงมีราคาต่ำลง พร้อมด้วยเริ่มมีเทคโนโลยีที่นำเครื่อง microcomputer จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันโดยเครือข่ายความเร็วสูง ( PC Cluster ) ทำให้ได้ระบบ computer สมรรถนะสูงในราคาต่ำ
· การแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสาหกรรมและการค้า เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างสูงในด้านอุตสหกรรมและการค้า มีการผลิตข้อมูลไว้อย่างมากมายแต่ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมและสืบค้นความรู้ที่ถูกซ่อนอยู่ในฐานข้อมูลความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในการจัดการในระบบต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรู้เหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตผลอีกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

ประเภทข้อมูลที่สามารถทำ Data Mining

· Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตาราง โดยในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดสามารถแสดงได้โดย entity-relationship ( ER ) model
· Data Warehouses เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันและรวบรวมไว้ในที่ ๆ เดียวกัน
· Transactional Database ประกอบด้วยข้อมูลที่แต่ละทรานเซกชันแทนด้วยเหตุการณ์ในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน จะเก็บข้อมูลในรูป ชื่อลูกค้าและรายการสินค้าที่ลูกค้ารายนั้นซื้อ เป็นต้น
· Advanced Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ข้อมูลแบบ object-oriented , ข้อมูลที่เป็น text file , ข้อมูลมัลติมีเดีย , ข้อมูลในรูปของ web

ลักษณะเฉพาะของข้อมูลที่สามารถทำ Data Mining

· ข้อมูลขนาดใหญ่ เกินกว่าจะพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลได้ด้วยตาเปล่า หรือโดยการใช้ Database Management System ( DBMS ) ในการจัดการฐานข้อมูล
· ข้อมูลที่มาจากหลายแหล่ง โดยอาจรวบรวมมาจากหลายระบบปฏิบัติการหรือหลาย DBMS เช่น Oracle , DB2 , MS SQL , MS Access เป็นต้น
· ข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ทำการ Mining หากข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจะต้องแก้ปัญหานี้ก่อน โดยบันทึกฐานข้อมูลนั้นไว้และนำฐานข้อมูลที่บันทึกไว้มาทำ Mining แต่เนื่องจากข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จาการทำ Mining สมเหตุสมผลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาจึงต้องทำ Mining ใหม่ทุกครั้งในช่วงเวลาที่เหมาะสม
· ข้อมูลที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาทำ Mining ได้เช่นกันแต่ต้องใช้เทคนิคการทำ Data Mining ขั้นสูง

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ท่านต้องการที่จะเรียนในระบบ e-learning หรือไม่เพราะเหตุใด

อยากเรียนในระบบ e-learning เป็นการเรียนเสริม โดยเห็นว่า การเรียนแบบเดิมคือมีอาจารย์สอนดีกว่า เนื่องจาก ข้อเสียการเรียนรู้ทาง e- Learning ผู้เรียนอาจต้องการเครื่องมือเป็นพิเศษในการประเมินทางอินเตอร์เน็ต เช่นทำอย่างไรจึงจะส่งแฟ้มข้อมูลไปพร้อมกันการส่ง e-mail ได้เป็นต้น หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อใหม่ หรืออาจจะกังวลเกี่ยวกับความยุ่งยากในการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการประเมิน และในการประเมินทางอินเตอร์เน็ตในเวลาที่ต่างกันและใช้เวลาในการศึกษาต่างกัน ในขณะที่อาจารย์มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาที่จะควบคุมเกี่ยวกับเวลาในการส่งงาน อาจารย์ไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้เรียนทำงานด้วยตนเองหรือมีคนอื่นมาช่วยทำให้และไม่รู้ว่าผู้เรียนที่เข้ามาทำการประเมินเป็นตัวจริงหรือไม่ ตาม password ที่ใช้หรือไม่ และก็อาจารย์ไม่สามารถควบคุมแหล่งที่มาของการเข้ามาเรียนของผู้เรียนในระหว่างการทำการบ้านได้ แต่ก็มีข้อดีที่ว่า ข้อดีการเรียนรู้ทาง e- Learning ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สามารถทำงานผ่านทาง e-mail มีส่วนร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา นักศึกษาสามารถประเมินตนเองได้ในรูปแบบของแบบทดสอบของระบบข้อสอบแบบปรนัยของอาจารย์ อาจารย์และกลุ่มนักศึกษาสามารถประเมินผ่านทาง Wab pages ได้ และในแนวการเรียนการสอนก็สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับผ่าน e-mail ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถให้ข้อมูลได้ทั้งรายบุคลและเป็นกลุ่ม ซึ่งการเรียนในระบบทางไกลก็สามารถทำให้นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับกลุ่มนักศึกษาด้วยกันได้

อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรอย่างไร

นับตั้งแต่ทศวรรษ1960 ที่โลกอินเตอร์เน็ตได้เริ่มต้นถือกำเนิด จนถึงวันนี้ในยุคที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology) ได้วิวัฒนาการไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 169 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ตประมาณ 43 ล้านคน นับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยกระแสของธุรกิจ E-Commerce
วันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว อินเตอร์เน็ตเข้ามามีผลกระทบในชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ปัจจุบันได้มีการใช้ E-Mail,SMS ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการติดต่อธุรกิจกับบริษัทคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะเรื่องที่กล่าวถึงเรื่องเดียวนี้ก็สามารถทำให้ประหยัดค่าโทรศัพท์ได้เป็นจำนวนมาก ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจก็ลดลง มีกำไรมากขึ้นหรือไม่ก็สามารถตั้งราคาสินค้าและบริการได้ถูกลงความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งก็มีมากขึ้น ซึ่งยังไม่รวมถึงประโยชน์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในด้านอื่นๆ เช่นการใช้อินเตอร์เน็ตในการหาสินค้าใหม่ ๆ มาขาย การหาลูกค้าใหม่ทางอินเตอร์เน็ต การโฆษณาสินค้าและบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต
สิ่งเหล่านี้จะทำให้บทบาทเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับองค์กรธุรกิจในทุกวันนี้จึงดูเหมือนจะเข้ามาแทนที่การทำธุรกิจรูปแบบเดิมจนแยกออกจากกันไม่ได้ ทำให้ความจำเป็นในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีด้าน IT มาเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการและดำเนินการบริษัทห้างร้าน โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่เวทีระดับสากลต่อไปดังนั้นจึงตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประโยชน์ของ e-learning

ประโยชน์ของ e-Learning ::

1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียนการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
2.เข้าถึงได้ง่ายผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย

3.ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่ายเนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว

4.ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
จากประโยชน์ของ e-Learning ดังกล่าวนี้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นจำนวนมากหันมานิยมใช้ระบบ e-learning ในการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อดีข้อเสียของ e-learning

ข้อดี
- เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
- ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup
-แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
ข้อเสีย
- ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
- ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
- ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
- ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

ในมุมมองของธุรกิจ

**ในมุมมองของธุรกิจ การสร้างระบบสาระสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง **

ในมุมมองทางธุรกิจระบบสารสนเทศ(Information)คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่มีการจัดโครงสร้างอย่างดตามเทคโนโลยีข่าวสารที่นำมาใฃ้ เพื่อตอบสนองต่าความท้าทายทั้งหลายจากสิ่งแวดล้อมขององค์กร ในการทำความเข้าใจความหมายของระบบสารสนเทศอย่างลึกซึ้ง ผู้บริหารจึงต้องมีความเข้าใจโครงสร้างขององค์กร กระบวนการบริหารงาน เทคโนโลยีข่าวสารและความสามารถในการนำเสนอกระยวนการแก้ปัญหา การทำความเข้าใจในระบบสารสนเทศรวมทั้งพฤติกรรมต่างๆนี้เรียกว่า "Information System Literacy" ส่วน "Computer Literacy" นั้นเน้นความเข้าใจเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศแต่เพียงอย่างเดียว

องค์กร
ระบบสารสนเทศถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร องค์กรบางแห่งในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้ก็เพราะมีระบบสารสนเทศทีดี เฃ่นธนาคารต่างๆ ถ้าระบบสารสนเทศหยุดทำงานธนาคารนั้น ก็จะต้องหยุดทำงานทันที องค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร ได้แก่ พนักงาน โครงสร้างและระเบียบปฎิบัติงาน นโยบาย และแบบธรรมเนียม องค์กรแบบเป็นทางการจะมีโครงสร้างที่แบ่งเป็นหลายระดับและมีผู้เชี่ยวชาญหลายประเภท ซึ่งเป็นการแบ่งหนักงานออกเป็นหลายกลุ่มตามหน้าที่การงานอย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญได้รับการว่าจ้างเข้ามาและฝึกฝนให้ทำหน้าที่ต่างกัน คือ ด้านการขายและการตลาด การผลิต การเงิน การบัญชี และการบริหารทรัพยากรบุคคล
พนักงานในองค์กร ปฎิบัติหน้าที่ตามโครงสร้างลำดับชั้นและมาตรฐานกระบวนการทำงาน โครงสร้างลำดับชั้น จัดวางพนักงานทั้งหมดในลงโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมที่มีพนักงานระดับล่างสุดซึ่งทำงานโดยใช้แรงงานเป็ฯหลักอยู่ที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมส่วนพนักงานระดับบนสุดซึ่งมีความรับผิดชอบสูงและมีอำนาจในการจัดการอยู่ที่ยอดของสามเหลี่ยม

มาตรฐานกระบวนการทำงาน หมายถึงกฎระเบียบอย่างเป็ฯทางการในการปฎิบัติงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับงานหนึ่งๆ เช่น วิธีการเขียนใบเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า มาตรฐานกระบวนการทำงานหรือ SOP มีทั้งแบบที่เขียนบันทึกอย่างเป็ฯทางการและแบบที่ใช้วิธีการบอกด้วยวาจา ซึ่งไม่ว่า จะเป็นแบบใดก็ตาม SOP จะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศ

วัฒนธรรมองค์กร หมายถึงแบบธรรมเนียม หรือแนวความเชื่อพื้นฐาน สำหรับการดำเนินงานหรือพิธีกรรมที่ถูกกำหนดขึ้นมาทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการซึ่งเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กรนั้นๆ เช่น พิธีการวางเสาเอกสำหรับการก่อสร้างอาคารและถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศด้วย
การที่มีโครงสร้างแบลำดับชั้นช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีระบบ แต่ความรับผิดชอบของคนในแต่ละกลุ่มทำให้มองปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็อาจกลเป็นความขัดแย้งระหว่างคนในองค์กรขึ้นมาได้เช่นกัน ความขัดแย้งประเภทนี้มักจะเป็นผลมาจากการเมืองภายในองค์กรซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อระบบสารสนเทศ

การบริหาร
ผู้บริหารรับทราบปัญหาและความท้าทายทางธุรกิจมาจากสิ่งแวดล้อมจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร จากนั้นจึงสร้างกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา เพื่อตอบสนอง แล้วจัดสรรทรัพยากรมนุษย์และเงินทุน และประสานการทำงานเพื่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรในที่สุด ผู้บริหารจำเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบสูงซึ่งจะต้อเป็นผู้นำที่สามารถบริหารงานช่วยให้องค์กรฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายไปได้ ระบบสารสนเทศจึงเป็นเสมือนเครื่งอมือชิ้นสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถ แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น ผู้บริหารบางส่วนยังมีความรับผิดชอนอกเหนือไปจากงานทั่วไป คือ จะต้องสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ให้แก่องค์กร งานประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้และข่าวสารใหม่ๆ มากมายมาวยในการตัดสินใจ

เทคโนโลยี
เทคโนโลยีข่าวสาร เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลายอย่างที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมีไว้ใช้งานเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คือเครื่องมือ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการป้อนข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ ตัวประมวลผล อุปกรณ์สำหรับการป้อนข้อมูลเช่น แป้นพิมพ์ และหน่วยแสดงผล เช่นจอภาพ และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก เช่น หน่วยบันทึกข้อมูลจานแม่เหล็ก คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานและประสานงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในระบบข่าวสารให้ทำงานตามที่ต้องการ