วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ท่านต้องการที่จะเรียนในระบบ e-learning หรือไม่เพราะเหตุใด

อยากเรียนในระบบ e-learning เป็นการเรียนเสริม โดยเห็นว่า การเรียนแบบเดิมคือมีอาจารย์สอนดีกว่า เนื่องจาก ข้อเสียการเรียนรู้ทาง e- Learning ผู้เรียนอาจต้องการเครื่องมือเป็นพิเศษในการประเมินทางอินเตอร์เน็ต เช่นทำอย่างไรจึงจะส่งแฟ้มข้อมูลไปพร้อมกันการส่ง e-mail ได้เป็นต้น หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อใหม่ หรืออาจจะกังวลเกี่ยวกับความยุ่งยากในการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการประเมิน และในการประเมินทางอินเตอร์เน็ตในเวลาที่ต่างกันและใช้เวลาในการศึกษาต่างกัน ในขณะที่อาจารย์มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาที่จะควบคุมเกี่ยวกับเวลาในการส่งงาน อาจารย์ไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้เรียนทำงานด้วยตนเองหรือมีคนอื่นมาช่วยทำให้และไม่รู้ว่าผู้เรียนที่เข้ามาทำการประเมินเป็นตัวจริงหรือไม่ ตาม password ที่ใช้หรือไม่ และก็อาจารย์ไม่สามารถควบคุมแหล่งที่มาของการเข้ามาเรียนของผู้เรียนในระหว่างการทำการบ้านได้ แต่ก็มีข้อดีที่ว่า ข้อดีการเรียนรู้ทาง e- Learning ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สามารถทำงานผ่านทาง e-mail มีส่วนร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา นักศึกษาสามารถประเมินตนเองได้ในรูปแบบของแบบทดสอบของระบบข้อสอบแบบปรนัยของอาจารย์ อาจารย์และกลุ่มนักศึกษาสามารถประเมินผ่านทาง Wab pages ได้ และในแนวการเรียนการสอนก็สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับผ่าน e-mail ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถให้ข้อมูลได้ทั้งรายบุคลและเป็นกลุ่ม ซึ่งการเรียนในระบบทางไกลก็สามารถทำให้นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับกลุ่มนักศึกษาด้วยกันได้

อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรอย่างไร

นับตั้งแต่ทศวรรษ1960 ที่โลกอินเตอร์เน็ตได้เริ่มต้นถือกำเนิด จนถึงวันนี้ในยุคที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology) ได้วิวัฒนาการไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 169 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ตประมาณ 43 ล้านคน นับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยกระแสของธุรกิจ E-Commerce
วันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว อินเตอร์เน็ตเข้ามามีผลกระทบในชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ปัจจุบันได้มีการใช้ E-Mail,SMS ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการติดต่อธุรกิจกับบริษัทคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะเรื่องที่กล่าวถึงเรื่องเดียวนี้ก็สามารถทำให้ประหยัดค่าโทรศัพท์ได้เป็นจำนวนมาก ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจก็ลดลง มีกำไรมากขึ้นหรือไม่ก็สามารถตั้งราคาสินค้าและบริการได้ถูกลงความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งก็มีมากขึ้น ซึ่งยังไม่รวมถึงประโยชน์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในด้านอื่นๆ เช่นการใช้อินเตอร์เน็ตในการหาสินค้าใหม่ ๆ มาขาย การหาลูกค้าใหม่ทางอินเตอร์เน็ต การโฆษณาสินค้าและบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต
สิ่งเหล่านี้จะทำให้บทบาทเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับองค์กรธุรกิจในทุกวันนี้จึงดูเหมือนจะเข้ามาแทนที่การทำธุรกิจรูปแบบเดิมจนแยกออกจากกันไม่ได้ ทำให้ความจำเป็นในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีด้าน IT มาเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการและดำเนินการบริษัทห้างร้าน โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่เวทีระดับสากลต่อไปดังนั้นจึงตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประโยชน์ของ e-learning

ประโยชน์ของ e-Learning ::

1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียนการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
2.เข้าถึงได้ง่ายผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย

3.ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่ายเนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว

4.ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
จากประโยชน์ของ e-Learning ดังกล่าวนี้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นจำนวนมากหันมานิยมใช้ระบบ e-learning ในการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อดีข้อเสียของ e-learning

ข้อดี
- เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
- ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup
-แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
ข้อเสีย
- ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
- ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
- ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
- ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

ในมุมมองของธุรกิจ

**ในมุมมองของธุรกิจ การสร้างระบบสาระสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง **

ในมุมมองทางธุรกิจระบบสารสนเทศ(Information)คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่มีการจัดโครงสร้างอย่างดตามเทคโนโลยีข่าวสารที่นำมาใฃ้ เพื่อตอบสนองต่าความท้าทายทั้งหลายจากสิ่งแวดล้อมขององค์กร ในการทำความเข้าใจความหมายของระบบสารสนเทศอย่างลึกซึ้ง ผู้บริหารจึงต้องมีความเข้าใจโครงสร้างขององค์กร กระบวนการบริหารงาน เทคโนโลยีข่าวสารและความสามารถในการนำเสนอกระยวนการแก้ปัญหา การทำความเข้าใจในระบบสารสนเทศรวมทั้งพฤติกรรมต่างๆนี้เรียกว่า "Information System Literacy" ส่วน "Computer Literacy" นั้นเน้นความเข้าใจเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศแต่เพียงอย่างเดียว

องค์กร
ระบบสารสนเทศถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร องค์กรบางแห่งในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้ก็เพราะมีระบบสารสนเทศทีดี เฃ่นธนาคารต่างๆ ถ้าระบบสารสนเทศหยุดทำงานธนาคารนั้น ก็จะต้องหยุดทำงานทันที องค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร ได้แก่ พนักงาน โครงสร้างและระเบียบปฎิบัติงาน นโยบาย และแบบธรรมเนียม องค์กรแบบเป็นทางการจะมีโครงสร้างที่แบ่งเป็นหลายระดับและมีผู้เชี่ยวชาญหลายประเภท ซึ่งเป็นการแบ่งหนักงานออกเป็นหลายกลุ่มตามหน้าที่การงานอย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญได้รับการว่าจ้างเข้ามาและฝึกฝนให้ทำหน้าที่ต่างกัน คือ ด้านการขายและการตลาด การผลิต การเงิน การบัญชี และการบริหารทรัพยากรบุคคล
พนักงานในองค์กร ปฎิบัติหน้าที่ตามโครงสร้างลำดับชั้นและมาตรฐานกระบวนการทำงาน โครงสร้างลำดับชั้น จัดวางพนักงานทั้งหมดในลงโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมที่มีพนักงานระดับล่างสุดซึ่งทำงานโดยใช้แรงงานเป็ฯหลักอยู่ที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมส่วนพนักงานระดับบนสุดซึ่งมีความรับผิดชอบสูงและมีอำนาจในการจัดการอยู่ที่ยอดของสามเหลี่ยม

มาตรฐานกระบวนการทำงาน หมายถึงกฎระเบียบอย่างเป็ฯทางการในการปฎิบัติงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับงานหนึ่งๆ เช่น วิธีการเขียนใบเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า มาตรฐานกระบวนการทำงานหรือ SOP มีทั้งแบบที่เขียนบันทึกอย่างเป็ฯทางการและแบบที่ใช้วิธีการบอกด้วยวาจา ซึ่งไม่ว่า จะเป็นแบบใดก็ตาม SOP จะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศ

วัฒนธรรมองค์กร หมายถึงแบบธรรมเนียม หรือแนวความเชื่อพื้นฐาน สำหรับการดำเนินงานหรือพิธีกรรมที่ถูกกำหนดขึ้นมาทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการซึ่งเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กรนั้นๆ เช่น พิธีการวางเสาเอกสำหรับการก่อสร้างอาคารและถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศด้วย
การที่มีโครงสร้างแบลำดับชั้นช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีระบบ แต่ความรับผิดชอบของคนในแต่ละกลุ่มทำให้มองปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็อาจกลเป็นความขัดแย้งระหว่างคนในองค์กรขึ้นมาได้เช่นกัน ความขัดแย้งประเภทนี้มักจะเป็นผลมาจากการเมืองภายในองค์กรซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อระบบสารสนเทศ

การบริหาร
ผู้บริหารรับทราบปัญหาและความท้าทายทางธุรกิจมาจากสิ่งแวดล้อมจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร จากนั้นจึงสร้างกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา เพื่อตอบสนอง แล้วจัดสรรทรัพยากรมนุษย์และเงินทุน และประสานการทำงานเพื่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรในที่สุด ผู้บริหารจำเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบสูงซึ่งจะต้อเป็นผู้นำที่สามารถบริหารงานช่วยให้องค์กรฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายไปได้ ระบบสารสนเทศจึงเป็นเสมือนเครื่งอมือชิ้นสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถ แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น ผู้บริหารบางส่วนยังมีความรับผิดชอนอกเหนือไปจากงานทั่วไป คือ จะต้องสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ให้แก่องค์กร งานประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้และข่าวสารใหม่ๆ มากมายมาวยในการตัดสินใจ

เทคโนโลยี
เทคโนโลยีข่าวสาร เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลายอย่างที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมีไว้ใช้งานเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คือเครื่องมือ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการป้อนข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอข้อมูลในระบบสารสนเทศ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ ตัวประมวลผล อุปกรณ์สำหรับการป้อนข้อมูลเช่น แป้นพิมพ์ และหน่วยแสดงผล เช่นจอภาพ และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก เช่น หน่วยบันทึกข้อมูลจานแม่เหล็ก คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานและประสานงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในระบบข่าวสารให้ทำงานตามที่ต้องการ